พิธีกรรม เผาพริก เผาเกลือ - - - พิธีกรรม เผาพริก เผาเกลือ - - นิยาย พิธีกรรม เผาพริก เผาเกลือ - - : Dek-D.com - Writer

    พิธีกรรม เผาพริก เผาเกลือ - -

    พิธีกรรมเผาพริกเผาเกลือ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการชุมนุม เรียกร้อง เพื่อให้แก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยไปแล้ว

    ผู้เข้าชมรวม

    2,500

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    2.5K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 มี.ค. 50 / 21:36 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    E va  - -

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      พิธีกรรมเผาพริกเผาเกลือ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการชุมนุม เรียกร้อง เพื่อให้แก้ไขปัญหา
       
      ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขับไล่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี

      และการขับไล่ผู้นำ ขององค์กรต่างๆ ล่าสุด ส.ว.ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ถูกชาวเชียงใหม่

      เผาพริกเผาเกลือสาปแช่ง ฐานลบหลู่ดูหมิ่น ขนบประเพณี ชาวล้านนา ที่ยึดถือ กันมาเป็น
       
      เวลาหลายร้อยปี กรณีขอเข้าไปสักการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ ดอยสุเทพ ในเขตหวงห้าม

      สำหรับสุภาพสตรี ก่อนอื่นเราต้องรู้ความหมายของ คำสาป ซึ่งหมายถึง คำพูดที่ถูกเปล่ง ออก

      เพื่อให้เป็นไปต่างๆ ตามต้องการของผู้มีฤทธิ์มีอำนาจ เช่น เทวดา ฤาษี หรือ แม่มด เป็นต้น
       
      ส่วน คำแช่ง นั้นหมายถึง คำพูดที่ผู้พูดกล่าวด้วยประสงค์ร้ายมุ่ง ให้เกิดสิ่งเลวร้ายขึ้นกับ ฝ่าย

      ตรงข้าม หรือประสงค์ให้ผู้อื่นที่ตนเองไม่ชอบใจ ให้เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ตามความต้อง

      การของตนเอง เมื่อนำคำพูดทั้งสองคำมารวมกันแล้วก็จะได้ความหมายว่า คำพูดที่เปล่ง

      ออกไป โดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ลงโทษฝ่ายตรงข้ามขอให้มีอันเป็นไปหรือเกิด

      อันตรายอย่างร้ายแรง มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า คำสาปแช่งจะมีผล ก็ต่อเมื่อผู้สาปแช่งเป็น

      คนดี มีศีลธรรมสาปแช่งเพื่อพิทักษ์ รักษาความดีเอาไว้ไม่ให้ถูกคนชั่วทำลายเสีย ผู้ถูกสาป

      แช่งเป็นคนไร้ศีลไร้สัจจะ หรือมีความผิดจริง ถ้าไม่เช่นนั้นแม้ จะสาปแช่งนานเพียงใดก็ไร้

      ผล สำหรับที่มาของ พิธีกรรมเผาพริกเผาเกลือ นั้น โหรลักษณ์ เรขานิเทศ เลขาธิการ

      สถาบันพยากรณ์ ศาสตร์ บอกว่า ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานใดบันทึกพิธีกรรมนี้ไว้ว่า เกิดขึ้น

      เมื่อใดกันแน่ รวมทั้งใน สมุดไทยดำ ก็เขียนไว้เพียงเล็กน้อย เท่านั้น เช่น ไอ้อีผู้ใดทำให้ไม่

      พึงใจ การสาปแช่งทำได้ดังนี้แล พึงไปหาเกลือตัวผู้สักหนึ่งกำมือ... ซึ่งผู้อ่านต้องมาตีความ

      หมายอีกครั้งหนึ่ง โดยพอสรุปได้ว่า การสาปแช่งด้วยการเผาพริกเผาเกลือเป็นพิธีกรรม และ

      ความเชื่อพื้นบ้าน โดยมีความเชื่อว่าทั้งพริกและเกลือ เป็นของรักของหวงสำหรับคนโบราณ

      ซึ่งทางโหราศาสตร์โบราณถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน การนำพริกกับเกลือมาเผา

      หมายถึงเป็นการเกลียดชัง ชนิดเรียกว่า ตายไปก็ไม่ร่วมเผาผีกันเลยทีเดียว เกลือสำหรับ

      เผานั้นจะเป็นเกลือตัวผู้ ซึ่งมีลักษณะแหลมคม ส่วนพริกนั้นจะเป็นพริกเม็ดใหญ่ๆ และเผ็ด

      สุด โดยใช้พริกและเกลือวางเรียงเป็นชื่อคนที่ต้องการสาปแช่ง จากนั้นก็ใช้ไฟสุม ซึ่งก่อนจะ

      เผานั้น จะมีการบวงสรวงดวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาเป็นสักขีพยาน สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่

      ได้ คือ ต้องดูฤกษ์อัปมงคลสำหรับผู้ถูกกระทำ หรือเรียกว่า ฤกษ์ที่ใช้กระทำย่ำยี โดยแต่ละ

      คนนั้นจะมีฤกษ์ อันเป็นอัปมงคล ในสมัยโบราณคนจะถือเรื่องการบอกวันเดือนปีเกิด โดยจะ

      ไม่มีการบอกกันง่ายๆ เพราะเกรงว่าเมื่อเกลียดกันจะทำร้ายกันโดยใช้วัน เดือนปีเกิดไปหา

      ฤกษ์อันเป็นอัปมงคล เช่น ผู้เกิดวันอาทิตย์จะมีคู่ศัตรูเป็นวันอังคาร ผู้เกิดวันจันทร์ก็จะมีคู่

      ศัตรูเป็นวันเสาร์ ผู้เกิดวันพุธกลางวันมีคู่ศัตรูเป็นพุธกลางคืน เป็นต้น โหรลักษณ์ บอกด้วยว่า
       
      การเผาพริกเผาเกลือในปัจจุบัน เป็นเพียง การแสดงออกถึงความเกลียดชังเท่านั้น เกลียด

      ชนิดที่เรียกว่าเข้ากระดูกดำ ตายก็ไม่ไปเผาผี ดังนั้น ผู้ที่ถูกสาปแช่งด้วยวิธีนี้จงเข้าใจว่าตน

      เองเป็นที่รังเกียจ ขออย่าได้ทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก ทางด้าน พระพิพิธธรรมสุนทร ผู้ช่วย

      เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ให้คติธรรมว่า พิธีกรรมการสาปแช่งไม่ใช่พิธีของพุทธ

      ศาสนา พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นปาณาติบาตอย่างรุนแรง (ฆ่ากันอย่างรุนแรง) และถือว่าเป็น

      มิจฉาสมาธิ ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงไม่สนับสนุน เพราะ เป็นการสร้างเวร

      สร้างกรรม ต่อกันไม่มีวันจบสิ้น แต่ในลัทธิของพ่อมดหมอผีนั้นใช้ เป็นเครื่องกำราบคนเลว

      โดย ใช้สมาธิเป็นเครื่องกำกับซึ่งถือว่าเป็นการใช้จิตที่เป็นสมาธิในทางผิด การเผาพริกเผา

      เกลือ เป็นการประท้วงและประจานอย่างหนึ่ง เท่านั้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ให้ผู้ที่ถูกกระทำ

      นั้นเจ็บแสบ อับอาย และเข็ด มิได้ทำเพื่อมุ่งหวังเอาชีวิต เหมือนเป็นการตักเตือนอย่าง

      รุนแรง เพื่อให้ผู้ที่ถูกกระทำนั้นสำนึกกลับตัวโดยการขอขมาลาโทษ เพราะฉะนั้น ใครที่เอา

      รัดเอาเปรียบประชาชน รวมทั้งกระทำไม่ดีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเจ็บแสบปวดร้อนไม่ได้อยู่ที่

      การเผาพริกเผาเกลือ หากอยู่ที่คำสาปแช่งที่เข้าหู ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังนั้นปวดแสบปวดร้อน โดย

      เฉพาะคำสาปแช่งของผู้อยู่ในศีลในธรรม แต่ถ้าผู้ถูกกระทำนั้นอยู่ในศีลในธรรม คำสาปแช่ง

      นั้นก็จะไม่เป็นผล ใดๆ ทั้งสิ้น

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×